ดอกไม้ มรดกโลก

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมาย "เทคโนโลยีทางการศึกษา"
เทคโนโลยีทางการศึกษา
1. เทคโนโลยีทางการศึกษาเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm) สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm) Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm) นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm2. เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational Technology) เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตรมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป หมายถึงการระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล (พิสูจน์ได้)มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดีสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเพื่อแก้ใขปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด อันที่จริง แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทางปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัย และทำไปอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการศึกษา เราคุ้นเคยอยู่กับ โสตทัศนศึกษากันแล้ว แม้กระทั่งเดี่ยวนี้ คนก็ยังคิดว่า โสตทัศศึกษา ก็คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ก็คือ โสตทัศนศึกษา ที่คิดอย่างนั้น ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดแรก แต่มันมีความถูกต้องไม่มากนักหรือเกือบผิด ก็ว่าได้ ความคิดหลังนั้น ถูกตรงที่ โสตทัศนศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาเท่านั้น http://sophon.bcnlp.ac.th/educational_tech.html 3. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา มีอยู่หลายทัศนะ องค์กรร่วมสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ประเทศอังกฤษ (Council for Educational Technology for the United Kingdom - CET) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการพัฒนาการนำไปใช้และการประเมินระบบ วิธีการดำเนินงาน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำให้การเรียนรู้ของคนเราให้ดีขึ้น" ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น โดยครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ วิธีการดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ ศูนย์บทเรียนโปรแกรมแห่งชาติ ประเทศอังกฤษ (National Centre for Programmed Learning , UK) อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ และเงื่อนไขของการเรียนรู้ มาใช้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอนและการฝึกอบรม แต่ถ้าหากปราศจากหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว เทคโนโลยีทางการศึกษาจะแสวงหาวิธีดำเนินการโดยการทดลองเพื่อเสริมสร้างสถานภาพองการเรียนรู้ให้ดีขึ้น" คณะกรรมาธิการสาขาเทคโนโลยีการสอน ประเทศสหรัฐอเมริกา (The Commission on Instructional Technology . USA) ได้อธิบายว่า "เทคโนโลยีทางการศึกษาคือการนำแนวความคิดที่เป็นระบบไปใช้ในการออกแบบ ดำเนินการ และประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งกระบวนการในรูปของวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสื่อความหมายของมนุษย์เรา อีกทั้งนำเอาทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่น ๆ มาผสมผสานกัน ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการเรียนรู้ที่สูงยิ่งขึ้น" Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุตามแผนการครรซิต มาลัยวงษ์ กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่อยู่ในวงการศึกษา ก็คงจะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ส่วนผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม อาจเรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมองว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการใช้เทคโนโลยีลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน" ชัยยงค์ (2523) อธิบายถึง เทคโนโลยีทางการศึกษาไว้อย่างละเอียดว่า "เทคโนโลยีเป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตกรรมของวิศวกรรม (อุปกรณ์) โดยยึดหลักทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ) มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาทั้งในด้านบริหารด้านวิชาการ และด้านบริการ" หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงระบบการศึกษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น วัสดุ (Material) หมายถึงผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่มีการผุผังสิ้นเปลืองได้ง่าย เช่น ชอร์ค ดินสอ ฟิล์ม กระดาษ ส่วนอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึงผลิตกรรมทางวิศวกรรมที่เป็นเครื่องมือค่าง ๆ เช่น โต๊ะกระดานดำ เก้าอี้ เครื่องฉาย เครื่องเสียง เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ และวิธีการ (Technique) หมายถึงระบบ กระบวนการ กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยา หลักสังคมวิทยา ภาษา ฯลฯ ที่นำมาใช้ในการศึกษา เช่น การสาธิต ทดลอง กลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้นhttp://student.nu.ac.th/fon/tecnomean.htm 4. ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายกว้างขวางพอๆ กับความหมายของคำว่า “การศึกษา” เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการแก้ปัญหาทางการศึกษาอย่างมีหลักการและเหตุผล เป็นแนวคิดที่มีระบบเกี่ยวกับการเรียนการสอน เทคโนโลยี (Technology) คำว่า Technology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ tech หมายถึง art ในภาษาอังกฤษ และคำว่า logos หมายถึง A study of ดังนั้น Technology จึงหมายถึง A study of art เทคโนโลยี มิใช่เฉพาะเครื่องจักร กับคนเท่านั้น แต่เป็นการจัดระเบียบที่บูรณาการ และมีความซับซ้อน อันประกอบด้วย คน เครื่องจักร ความคิด วิธีการ และการจัดการ Carter V.good กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ให้ความหมายเทคโนโลยีว่า หมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ นั่นเอง ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ให้คำจำกัดความว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำเอาวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาระเบียบ วิธีการ อันเป็นผลิตผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่งานด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การศึกษา (Education) การศึกษา หมายถึง การผสมผสานกระบวนการทั้งหลาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ และรูปแบบที่น่าพึงพอใจของพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมที่เขาอาศัยอยู่(AECT:1979) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Thecnology) คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (1979:12) ให้คำอธิบายว่า เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และบูรณาการเข้าด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล กรรมวิธี ความคิด เครื่องมือ และการจัดการ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา การจัดการวิธีแก้ปัญหา การปรับปรุงและการแก้ปัญหามาใช้ ซึ่งต้องใช้แนวทางทั้งหลายของการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทางเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น จะรวมเอาแหล่งการเรียนรู้ทั้งหลายที่ออกแบบ เลือกหรือนำมาใช้เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จตามต้องการ ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ ได้ให้นิยามว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการนำเอาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้ทางการศึกษาเพื่อช่วยให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น Carter V. Good กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึงการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน







“นวัตกรรมการศึกษา "
นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์
ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับ
กันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี
"แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ "
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่
เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและ
ชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบ
ได้อย่างไม่รู้จบ
2. คุณลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับ
บรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียน
ทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมี
อิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภท
ตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยก
ย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้
บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์
ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้น
กระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทย
และดนตรีพื้นเมือง
3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและ
อวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์
ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือ
จำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการ
รณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการ
สอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยก
ได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง
แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิด
ต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และ
เทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย
และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อ
กิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็น
กิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนา
มาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรม
ผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงาน
กลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพ
เป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการ
ก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้าน
วิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
"เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา
อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การ
พัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
"คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา"
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3
ส่วนคือ
1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ - หน่วยรับ
ข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ - หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น
จานบันทึก - หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ
2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วย ชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือเป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์
เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น งานบัญชี งานพิมพ์เอกสาร งานวาดภาพ เป็นต้น 3 ส่วนบุคลากร
(Peopleware) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับบริหาร (Administration)
- ระดับวิชาการ (Technical)
- ระดับปฏิบัติการ (Data Processing)
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Assisted Instruction) หมายถึง การ
นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัด
การศึกษาและการเรียนการสอน
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practica)
2. โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial)
3. โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation)
4. เกมทางการศึกษา (Educational Games)
5. โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving)
ข้อดี ข้อจำกัดข้อดี
1. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
2. ไม่จำกัดสถานที่เรียน
3. สามารถเรียนจากสื่อประสม
4. การทราบผลการเรียนทันที
ข้อจำกัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุม
เครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์
รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงาน
หลัก 4 ระบบ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for EducationAdministration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา
ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่
บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆเป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษาด้าน
ต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาช่วย
ในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ
4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้
ความสามารถและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ
ICT__